Guatemala from Washington Post 1

เมื่อราคากาแฟตกต่ำจนทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในกัวเตมาลาต้องอพยพเข้าสหรัฐอเมริกา

20 มิถุนายน – Washinton Post ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับราคากาแฟในตลาดโลกที่กำลังตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรในประเทศกัวเตมาลาต้องอพยพเข้าอเมริกา

ตั้งแต่ปี 2018 ราคากาแฟในตลาดโลกตกต่ำลงกว่า 1 เหรียญสหรัฐต่อปอนด์เป็นครั้งแรกในรอบสิบปี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาราคากาแฟมีแนวโน้มตกต่ำลงตลอดจนลดลงไปต่ำสุดที่ 0.87 เซนต์ต่อปอนด์ในเดือนเมษายนปี 2019 ผลกระทบของราคากาแฟที่ลดลงเริ่มเห็นได้ชัดเจนจากเกษตรกรในประเทศกัวเตมาลา 

อ่านเพิ่มเติม : ราคากาแฟตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี

HOJA BLANCA ในประเทศ Guatemala

ในกัวเตมาลากาแฟเป็นพืชที่ถูกมองว่าเป็นทางออกจากความยากจน ดังนั้นหลายครอบครัวจึงปลูกกาแฟส่งให้กับสหกรณ์ที่ขายกาแฟให้กับ Starbuck และ  Fair Trade ซึ่งให้ราคาสูงกว่าราคาตลาดประมาณ 30%  

แต่หลังจากปี 2017 ราคากาแฟต่อยๆตกจากระดับสูงสุดที่ 2.2 เหรียญต่อปอนด์ลดลงกว่า 60% เหลือแค่ 0.86 เซนต์ต่อปอนด์ 

ด้วยราคาที่ตกต่ำนี้ส่งผลให้สมาชิคในสหกรณ์ของ HOJA BLANCA  กว่า 50 คนอพยพสู่สหรัฐอเมริกาเพื่อหางานทำโดยทิ้งสวนกาแฟของตัวเองไว้เบื้องหลัง

ส่งผลให้ตัวเลขผู้อพยพจากกัวเตมาลาพุ่งจาก แปดหมื่นคนในปี 2014 เป็นกว่าสองแสนคนในปี 2018

Guatemala from Washington Post 2รูป Washing Station จาก Washington Post

ต้นทุนสูง

สำหรับ Fair trade program จะจ่ายค่ากาแฟขั้นต่ำอยู่ที่ 1.6 เหรียญต่อปอนด์ เป็นราคาที่จ่ายให้กับบริษัทส่งออกในขณะที่เกษตรกรจะได้รับอยู่ที่ประมาณ 1.2 เหรียญต่อปอนด์

ในขณะที่ Starbuck จะจ่ายแพงกว่าราคาตลาดประมาณ 30% แต่ผู้ที่จะได้รับต้องได้การรับรองจาก Coffee And Farmer Equity (CAFE) คือต้องเป็นเกษตรกรที่ดูแลการกัดเซาะของหน้าดิน และไม่จ้างแรงงานเด็ก รวมทั้งข้อกำหนดอื่นๆ

สำหรับต้นทุนในการผลิตกาแฟของกัวเตมาลานั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1.93 เหรียญต่อปอนด์ซึ่งมากกว่าราคาตลาดถึง 40% ทำให้รายได้ของเกษตรกรไม่เพียงพอต่อการยังชีพ

อ่านเพิ่มเติม : ราคากาแฟกับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในแถบลาตินอเมริกาโดย Caravela Coffee

Rodrigo Carrillo

เกษตรกรผู้นำเงินเก็บที่ได้มาจากการทำงานแบบผิดกฏหมายในสหรัฐในช่วงปี 2002 ถึง 2012 หลังจากระยะเวลากว่า 10 ปี Carrillo กลับมาที่บ้านเกิด แต่งงานและมีลูก รวมทั้งยังนำเงินเก็บกว่า 3000 เหรียญสหรัญมาลงทุนกับสวนกาแฟขนาด 60 เอเคอร์ เพื่อที่จะใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิด

ในปี 2012 ราคากาแฟในตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 2 เหรียญต่อปอนด์ แต่ในปี 2017 ผลผลิตกาแฟจากบราซิลเพิ่มขึนทำให้ราคากาแฟในตลาดโลกเริ่มลดลง

ในปี 2019 ราคากาแฟตกลงอย่างหนักทำให้ Carrillo วางแผนที่จะเดินทางกลับสหรัฐอีกครั้งเริ่มจากให้ภรรยาและลูกชายคนเล็กเดินทางไปก่อน ซึ่งรายได้จากการทำงานในสหรัฐจะอยู่ที่ประมาณ 8 เหรียญต่อชั่วโมง

Carrillo วางแผนที่เดินทางจากกัวเตมาลาไปยังเม็กซิโก และจะใช้สิทธิผู้ลี้ภัยเข้าสหรัฐอเมริกา แต่เนื่องจากนโยบายที่ผ่านแดนระหว่างสหรัฐและเม็กซิโกที่เปลี่ยนไป ทำให้ Carrillo เลือกที่จะลักลอบเข้าอเมริกา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2000 เหรียญสหรัฐ

สรุป

เกษตรที่ปลูกกาแฟเป็นหลักในประเทศกัวเตมาลากำลังประสบปัญหาจากราคากาแฟที่ตกต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐต่อปอนด์ในขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 1.93 เหรียญสหรัฐต่อปอนด์ ส่งผลให้เกษตรกรเหล่านี้เลือกที่จะทิ้งสวนกาแฟอยู่เบื้อหลังและเข้าไปหางานทำในสหรัฐอเมริกาแทน

อ่านบทความตัวเต็มได้จาก The Migration Problem is a Coffee Problem : Washington Post

Guatemala from Washington Post 3รูป Rodrigo Carrillo และลูกชาย จาก Washington Post

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.