coffee-and-cancer

กาแฟกับโรคมะเร็ง คำแนะนำจาก American Cancer Society

กาแฟกับการเกิดโรคมะเร็ง

กาแฟเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มยอดนิยมที่ถูกบริโภคเป็นจำนวนมากทั่วโลก ด้วยความนิยมนี้ทำให้การดื่มกาแฟกลายเป็นข้อถกเถียงถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากการดื่มกาแฟ โดยหนึ่งในนั้นคือความสามารถในการก่อให้เกิด หรือ ยับยั้งโรคมะเร็ง

บทสัมภาษณ์จาก American Cancer Society researchers, Susan Gapstur, PhD, และ Marjorie McCullough, ScD จะมาแนะนำถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาความสัมพันธ์ของการดื่มกาแฟและการเกิด หรือ ยับยั้งโรคมะเร็ง

– การดื่มกาแฟกับการเกิดมะเร็ง –

หลายงานวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดโรคหรือโอกาสการเสียชีวิตจากโรคได้หลายชนิด แต่สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มกาแฟกับการก่อโรคมะเร็งนั้นยังไม่แน่ชัด ในปี 2016 กลุ่มของนักวิจัยจาก International Agency for Research on Cancer สรุปผลการทดลองจากหลายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มกาแฟและการเกิดโรคมะเร็งไว้ว่า ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ากาแฟเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

นอกเหนือจากนี้นักวิจัยกลุ่มนี้ยังพบว่าการดื่มกาแฟไม่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) มะเร็งตับอ่อน (Pancreas Cancer) มะเร็งต่อมลูกมาก(Postage Cancer) และการดื่มกาแฟยัง “อาจจะ” ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Uterine endometrium) และมะเร็งตับ (Liver Cancer)

เนื่องจากผู้ที่ดื่มกาแฟส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ร่วมด้วย ทำให้ยากต่อการหาความสัมพันธ์ของโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หรือการดื่มกาแฟ ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยล่าสุดพบว่าการดื่มกาแฟเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) แต่ความจริงแล้วสาเหตุเกิดจากการสูบบุหรี่ไม่ใช่การดื่มกาแฟ

– การดื่มกาแฟช่วยลดการเกิดมะเร็ง? –

ผลจากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟ “อาจจะ” ช่วยลดการเกิดมะเร็งได้หลายชนิดยกตัวอย่างเช่น มะเร็งคอ (Head and Neck Cancer) มะเร็งตับ (Liver Cancer) มะเร็งลำไส้ (Colorectal Cancer) หรือมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) แต่ “กระบวนการที่ทำให้การดื่มกาแฟช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง ยังไม่ชัดเจน” เนื่องจากในกาแฟประกอบไปด้วยสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิดเช่น Caffeine, Flavonoid, และ Polyphenols เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานว่า การดื่มกาแฟจะช่วยลดการเกิดโรคเบาหวานแบบ Type 2 ซึ่งเป็นต้นเหตุในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ (Colorectal Cancer), มะเร็งตับ (Liver Cancer), มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) เป็นต้น

– สาร Acrylamide ในกาแฟก่อให้เกิดโรคมะเร็ง? – 

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาศาลประจำรัฐ California ได้มีคำสั่งให้ต้องติดป้ายเดือนบนถุงกาแฟว่ามีโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งซึ่งสารก่อมะเร็งที่ว่านี้ก็คือสาร Acrylamide

สาร Acrylamide เป็นสารที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ Amino acid จำพวก asparagine และน้ำตาลภายใต้อุณหภูมิสูง ค้นพบในปี 2002 โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน 

Acrylamide พบได้ในอาหารหลายชนิดเช่น French Fries, Biscit, Cookies โดย Acrylamide ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของสารที่สามารถก่อมะเร็งได้ ในหลังทดลองในสัตว์ทดลอง

ในปี 2011 และ 2014 ได้มีการทำการวิจัยหาความเชื่อมโยงระหว่างการได้รับสาร Acrylamide ผ่านการรับประทาน กับการก่อมะเร็ง ซึ่งสรุปว่าการได้รับ Acrylamide ผ่านทางการรับประทานไม่มีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง

*ปริมาณ Acrylamide ในกาแฟมีปริมาณน้อยมากมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่น อ่านเพิ่มเติม : Clean Lebel Project

– สรุปการดื่มกาแฟปลอดภัยหรือไม่ –

จากผลวิจัยพบว่าการดื่มกาแฟนั้น “อาจจะ” ช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่างๆ  แต่ถึงอย่างไรก็ตามโทษของการดื่มกาแฟก็ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากงานวิจัยยังไม่เพียงพอ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งการดื่มกาแฟยังไม่ใช้ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

การสูบบุหรี่ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งได้สูงที่สุด  ดังนั้นการเลิกสูบบุหรี่จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้มากที่สุด อีกหนึ่งวิธีการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งคือการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเช่น ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้น้ำหนักตัวไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และทานผักให้เยอะ  

สำหรับท่านที่กังวลการรับปริทาน Acyramide สามารถลดการรับประทานของทอด หรือสามารถดูเพิ่มเติมได้จาก  American Cancer Society’s dietary guidelines

*สำหรับกาแฟที่กล่าวถึงนี้คือกาแฟดำ ทำให้แม้ว่าการดื่มกาแฟจะปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่การดื่มกาแฟที่มีปริมาณน้ำตาล หรือไขมันมากเกิดไปอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในทางอื่นได้

Reference

Coffee and Cancer: What the Research Really Shows

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.