How-to-Steam-Milk-Cover

วิธีการสตีมนม | How to Steam Milk

การสตีมนมเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญสำหรับเมนูกาแฟนมร้อนเช่น ลาเต้, คาปูชิโน่, และ Flat White

 

ประวัติของ Micro Foam

ประวัติความเป็นมาของการสตีมนมนั้นไม่ชัดเจน แต่สันนิฐานว่าเกินขึ้นพร้อมๆกับการพัฒนาเครื่องชงเอสเปรสโซในช่วงปีทศวรรษที่ 1950 แต่การพัฒนาเทคนิคการสตีมนมสู่ไมโครโฟม (Micro Foam) เกิดขึ้นในช่วง 1986 โดย Jack Kelly จาก Uptown espresso (พูดถึงโดย David Schomer ในบทความ Coffee Talk ปี 1994) นมที่ผ่านการสตีมโดยเทคนิคนี้จะทำให้นมมีลักษณะที่คล้ายกับ กำมะหยี่ หรือ Velvet Texture ซึ่งนำไปสู่การเกิด Latte Art ในปัจจุบัน

 

Concept of Milk Steaming

หลักการของการสตีมนมคือเพิ่มอากาศ (Aeration) เข้าไปในนม พร้อมกับอุ่นนมให้ร้อนขึ้นซึ่งจะทำให้รสชาติและเนื้อสัมผัสของนมเปลี่ยนไป โดยฟองอากาศที่อยู่ในนมจะอยู่ในรูปแบบของ Micro Foam หรือ ฟองอากาศขนาดเล็ก

การที่ฟองอากาศจะคงสภาพอยู่ในนมได้จำเป็นต้องมีตัวช่วยซึ่งในที่นี้ก็คือ โปรตีนที่อยู่ในนม เช่น Whey Protein และ Casein Micelle ซึ่งจะทำหน้าที่ไปห่อหุ้มฟองอากาศขนาดเล็กเพื่อคงสภาพให้อยู่ในนมได้นานขึ้น

Casein-and-Whey
Whole-Milk

เมื่อฟองอากาศถูกใส่เข้าไปในนมโปรตีน Casein Micelle และ Whey จะมาจับกับอากาศทำให้อากาศสามารถคงสภาพเป็นโฟมอยู่ได้ในนม

Almond Milk

ถ้านมที่ไม่มีโปรตีน Casein Micelle และ Whey เช่นนมถั่วเหลืองและนมอัลมอนด์ก็จะไม่สามารถกักฟองอากาศให้อยู่เป็นโฟมภายในนมได้

 

ชนิดของนมวัว

Thom Huppertz ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์จากนมได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับนมและการเกิดโฟมว่าไม่ว่าจะเป็นนมแบบพร่องมันเนย (Skim Milk) หรือ นมวัว (Whole Milk) ก็มีโปรตีนเพียงพอที่จะคงสภาพของโฟมได้ แต่นมวัว (Whole Milk) จำเป็นต้องมีอุณหภูมิที่สูงกว่า 40 องศาเพราะไขมันที่เป็นผลึกบางส่วน (Partially Crystallized Fat) มีผลต่อการคงสภาพของโฟมใว้

 

วิธีการสตีมนม

เมื่อทราบแล้วว่าการสตีมนมทำหน้าที่ทั้งหมด 2 อย่างด้วยกันได้แก่

1 เพิ่มอากาศเข้าไปในนม

2 ทำให้นมมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อที่จะทำให้อากาศอยู่ในนมได้นานขึ้น รวมทั้งยังช่วยปรับลักษณะของฟองนมให้เนียน

1.เทนมใส่ Pitcher

เทนมให้สูงประมาณขอบล่างของปากเหยือก หรือเทในปริมาณที่เหมาะสมตามที่ Pitcher ได้ถูกออกแบบมา

Filled Milk Pitcher

 

2.เปิดก้านสตีมไล่ไอน้ำก่อนจุ่มก้านสตีมลงไปในนม

ไล่ไอน้ำในก้านสตีมออกก่อนที่จะจุ่มก้านสตีมลงในนม โดยให้ส่วนหัวสตีมจุ่มลงไปในนมสัก 2/3 ส่วน และห่างจากตรงกลางสักเล็กน้อย เพื่อให้แรงดันจากไอน้ำดันนมให้หมุนเป็นวงกลม

**ตำแหน่งการวางก้านสตีมนมสำคัญมาก ถ้าวางถูกนมก็จะวนดีและไม่จำเป็นต้องขยับ Pitcher ตลอดทั้งการสตีม**

Steam-Wand-Placement

 

3.เริ่มสตีมและใส่อากาศ

เปิดเครื่องสตีมนมและเริ่มใส่อากาศเข้าไปในนม สามารถสังเกตปริมาณอากาศเข้าไปในนมได้จากเสียง

ซึ่งนอกจากเสียงข้างต้นแล้วบริมาณนมใน Pitcher ก็จะเพิ่มขึ้น ถ้าปริมาณนมเพิ่มขึ้นเยอะก็แสดงว่ามีโฟมมาก ในทางกลับกันถ้าจุ่มก้านสตีมนมลึกเกินไปจะมีเสียงแบบนี้

การใส่อากาศควรใส่เฉพาะตอนที่นมยังเย็นจนถึง 40 องศาเซลเซียส ดังนั้นถ้าเกิดฟองอากาศใหญ่ๆในช่วงแรกสามารถค่อยๆปรับให้ฟองอากาศมีขนาดเล็กลงได้ก่อนที่อุณหภูมิจะถึง 40 องศาเซลเซียส

ถ้าใส่อากาศเมื่อนมอุณหภูมิ 40 องศาขึ้นไป นมจะสามารถคงฟองอากาศได้ดีทำให้ฟองอากาศใหญ่และไม่เนียน

ปริมาณนมที่เพิ่มขึ้นหมายถึงปริมาณฟองนมที่มี

เส้นสีเหลืองแสดงถึงปริมาตรนมที่ใส่ไป แต่เส้นสีส้มในรูปกลางและรูปขวาสุดแสดงถึงปริมาตรนมที่ได้หลังจากการสตีม รูปขวาสุดมีปริมาตรเพิ่มขึ้นสูงสุดแสดงว่ามีฟองนมเยอะที่สุด

 

4.วนนม

เมื่อได้ปริมาณฟองนมที่ต้องการแล้วจะเริ่มทำการวนนม การวนนมจะช่วยให้ฟองอากาศรวมตัวเข้ากับนมทั้งเหยือกโดยไม่แยกชั้น

การวนนมทำได้โดยขยับ Pitcher ขึ้นเล็กน้อยให้ส่วนปลายจมอยู่ในนมทั้งหมด และให้แรงดันไอน้ำดันนมให้หมุนเป็นวง

**ห้ามหมุน Pitcher ไปมา**

 

5.หยุด

เมื่ออุณหภูมิของนมร้อนจนจับไม่ได้ หรือประมาณ 50 – 60 องศาก็ให้หยุดการสตีมนม ถ้านมที่สตีมร้อนเกินไป จะทำให้ฟองนมไม่เสถียรทำให้เกิดฟองขนาดใหญ่ได้ง่าย และก่อนที่จะนำมาใช้ให้เคาะ Pitcher แรงๆสัก 2 ครั้งเพื่อให้ฟองอากาศขนาดใหญ่แตกตัว

อย่าลืมไล่ไอน้ำออกจากก้านสตีมพร้อมกับทำความสะอาดคราบนมบนก้าน

 

ลักษณะของฟองนมที่ดีและฟองนมที่ไม่ดี

ฟองนมที่ดี

ใส่อากาศเข้าไปตอนที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศา

ฟองนมที่ไม่ดี

ใส่อากาศเข้าไปตอนที่มีอุณหภูมิเกิน 40 องศา

Bad-Milk-Foam

 

จำเป็นต้องสตีมถึง 65 องศาหรือไม่?

65 องศาคือจุดที่ได้รับการแนะนำบ่อยครั้งว่าเป็นจุดที่หวานที่สุด แต่จริงๆแล้วปริมาณน้ำตาล Lactose ในนมเปลี่ยนแปลงน้อยมาก 

Reactions of lactose during heat treatment of milk (HE Berg,1993)

จากงานวิจัยจะเห็นได้ว่าแม้ว่านมจะถูกอุ่นที่อุณหภูมิ 110 องศสเซลเซียส แต่การเปลี่ยนแปลงของ Lactose ลดลงน้อยมากแม้จะใช้เวลาถึง 25 นาที

ดังนั้นอุณหภูมิที่ใช้ในการหยุดสตีมนมขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ดื่ม เช่นอาจจะสตีมที่ 65 องศาเซลเซียสถ้าต้องการให้กาแฟร้อนขึ้น และสตีมที่ 50 องศาเซลเซียสถ้าต้องการอุณหภูมิต่ำลง

 

สรุป

1. นมวัวสามารถสตีมนมได้ง่ายเนื่องจากมีโปรตีนเพียงพอ แต่นมชนิดอื่นๆที่โปรตีนน้อยจะสตีมได้ยากกว่า

2.การสตีมนมจะแบ่งเป็นสองช่วงด้วยกันคือ

  2.1 ช่วงใส่อากาศ สามารถทำได้ก่อนที่นมจะร้อนกว่า 40 องศา

  2.2 ช่วงวน ทำให้ฟองนมรวมกับน้ำนมเป็นเนื้อเดียวกันไม่แยกชั้น

3. จุดที่หยุดการสตีมขึ้นอยู่กับความร้อนของนมที่ต้องการแต่ต้องสูงกว่า 40 องศาสำหรับนมวัว (Whole Milk) เพื่อให้โฟมนมคงสภาพอยู่ได้

4. เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นลักษณะของฟองจะใหญ่ขึ้นเพราะความสามารถในการคงสภาพได้แย่ลงแต่ก็ยังคงสภาพอยู่ได้

from ฿5,800.00

Reference

Re:co Symposium

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.