วิวัฒนาการของเครื่องบดกาแฟ ตอนที่ 1

วิวัฒนาการของเครื่องบดกาแฟ ตอนที่ 1 (Coffee grinder story, part 1)

วัฒนธรรมการกินกาแฟนั้นเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบตะวันออกกลางระหว่างปี ศ.ส. 800-900 ซึ่งในช่วงนั้นชาวตะวันออกกลางก็ได้มีการบด เครื่องเทศ และ ธัญพืช เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร เมล็ดกาแฟจึงถูกบดโดยวิธีการเดียวกัน ซึ่งก็คือการใช้ สากและครก โดยวัสดุที่ใช้ในการทำอุปกรณ์การบดในเบื้องต้นคือ หิน ถึงจะไม่สะดวกเท่าเครื่องบดในยุคปัจจุบัน แต่ก็ยังมีคนใช้ครกแทนเครื่องบดในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นของที่มีอยู่ติดครัว นอกจากนี้ถ้าอยากจะกินกาแฟในสไตล์ดั้งเดิมของตุรกี ครกกับสาก อาจจะทำหน้าที่ได้ดีกว่าเครื่องบดหลายๆตัวซะอีก เพราะ กาแฟตุรกีแบบดั้งเดิมก็บดเมล็ดกาแฟโดยใช้ ครกกับสาก ทำให้กาแฟบดมีความละเอียดมาก

หลังจากยุคของ ครกกับสาก วิวัฒนาการของเครื่องบดกาแฟก็ขยับไปพร้อมๆกับพวกเครื่องเทศ กับ ธัญพืช ในช่วงปี 1300 โม่หินเริ่มถูกนำมาในการบด ธัญพืช โดยตัวโม่จะประกอบไปด้วยหินทรงกรวยสองชิ้น ชิ้นหนึ่งกลวง และ ประกบอยู่บนหินทรงกรวยอีกชิ้น ซึ่งวิธีการบดแบบโม่หินนี้ก็ถูกใช้เป็นไอเดียตั้งต้นในการผลิตเครื่องบดกาแฟในยุคปัจจุบัน
ช่วงศตวรรษที่ 14 อุปกรณ์บดเครื่องเทศแบบสี่ขาได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมา (หลักฐานไม่แน่ชัดว่าเป็น ชาวเปอร์เซีย หรือ ชาวตุรกี) และ ก็ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการบดกาแฟด้วย
ครกและสาก กลับมาเป็นที่นิยมในประเทศแถบยุโรป ถึงแม้ว่าเครื่องโม่ (Mill) จะสามารถบดกาแฟได้สะดวกและ รวดเร็วกว่าแต่ ในยุคนั้นคนในวงการกาแฟถือว่าการบดเมล็ดกาแฟโดยใช้ครกนั้นถือเป็นวิธีที่ดูมีระดับสูงกว่า วัสดุที่ใช้ทำครกกับสากอาจเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนค่านิยมในยุคนั้น นอกจากหิน และ ไม้ วัสดุที่ดูมีมูลค่าอย่าง ทองเหลือง หรือ สำริด ก็ถูกนำมาใช้ผลิตครกอย่างแพร่หลาย

ทั้ง ครกกับสาก และ เครื่องบดสี่ขา จะวิวัฒนาการเป็นเครื่องบดที่เราเห็นในปัจจุบันยังไง โปรดติดตามตอนต่อไป

Thank You Beans Here

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.